จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

09 สิงหาคม 2555

ประกันคุณภาพซอฟต์แวร์


คำนำ
               
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา วิชาประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาและการหาความรู้ในเรื่อง คุณภาพของซอฟต์แวร์ (CMM,ISO,TQA) ซึ่งรายงานเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณภาพของซอฟต์แวร์ (CMM,ISO,TQA) จะมีความหมายของคุณภาพของซอฟต์แวร์, International Organization for Standardization (ISO), Thailand Quality Award (TQA) และมีความหมายของ Capability Maturity Model (CMM) และยังมีที่มา ประโยชน์ และการนำไปใช้หรือใช้งานของแต่ละอย่างด้วย

การศึกษาค้นคว้ารายงานเรื่อง คุณภาพของซอฟต์แวร์ (CMM,ISO,TQA) ฉบับนี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการดำเนินงานการศึกษาค้นคว้า และเป็นการศึกษาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ อาทิ ตำรา หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร และแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ ต่างๆ และรายงานฉบับนี้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง อาทิ เช่น การเรียนการสอน การให้ความรู้กับบุคคลทั่วไป และยังมีประโยชน์ในหลายๆด้าน เป็นต้น และหวังว่าโครงงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย

การจัดทำรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ไปด้วยดี ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณ อาจารย์  ที่ท่านได้ให้คำแนะนำการเขียนรายงานจนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ในด้านแผนปฏิบัติศึกษาการทำรายงาน การเรียบเรียงเนื้อหา การเขียนบรรณานุกรมได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และข้าพเจ้าหวังว่า เนื้อหาในรายงานฉบับนี้ที่ได้เรียบเรียงมาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเป็นอย่างดี หากมีสิ่งใดในรายงานฉบับนี้จะต้องปรับปรุง ข้าพเจ้าขอน้อมรับในข้อชี้แนะและจะนำไปแก้ไขหรือพัฒนาให้ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป

         ผู้จัดทำโครงงาน




สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                                                                       หน้า

คำนำ                                                                                                                                                                         1
สารบัญ                                                                                                                                                                     2
บทนำ                                                                                                                                                                        3
1.             คุณภาพของซอฟต์แวร์                                                                                                                       4 - 5
1.1.       คุณภาพของ Software ตามหลักเกณฑ์                                                                                         4 - 5
2.             Capability Maturity Model (CMM)                                                                                              5 - 8
2.1.  Capability Maturity Model (CMM) คือ                                                                                       5 - 7
2.2.  จำเป็นหรือไม่ต้องมีมาตรฐาน Capability Maturity Model (CMM)                                         7
2.3.  Capability Maturity Model (CMM) มีประโยชน์อย่างไร                                                            8
3.             International Organization for Standardization (ISO)                                                                    8 - 10
3.1.  International Organization for Standardization (ISO) คือ                                                      8 - 9
3.2.  หมายเลข International Organization for Standardization (ISO)                                             9
3.3.  ประโยชน์ของ International Organization for Standardization (ISO)                                                9 - 10
4.             Thailand Quality Award (TQA)                                                                                                            10 - 19
4.1.  Thailand Quality Award (TQA) หมายถึง                                                                                      10
4.2.  ความเป็นมาของ Thailand Quality Award (TQA)                                                                    10 - 13
4.3.  ความสำคัญของ Thailand Quality Award (TQA)                                                                     13 - 15
4.4.  กระบวนการของ Thailand Quality Award (TQA)                                                                   15 - 16
4.5.  ผลลัพธ์ของ Thailand Quality Award (TQA)                                                                             16 - 18
4.6.  ประโยชน์ของ Thailand Quality Award (TQA)                                                                        18 – 19
สรุป                                                                                                                                                                           19
บรรณานุกรม                                                                                                                                                          20
บทนำ

นับตั้งแต่ประเทศไทยได้เข้าสู่การค้า ต้องมีการบังคับให้สินค้าที่จะส่งออกหรือนำเข้ามาได้รับมาตรฐานและองค์กรต่างประเทศยอมรับในสินค้าของประเทศไทย ดังนั้นจึงใช้ความตกลงด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยโดยที่จะกำหนดกติกาให้ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการด้านมาตรฐานและความปลอดภัยอาหาร ด้านการผลิตสินค้า การจัดส่งสินค้า ดังนั้นจึงมีการควบคุมการส่งออกนำเข้าสินค้าเทคโนโลยี เกษตร อาหารและอื่นๆ ทำให้รัฐบาลหรือกระทรวงอื่นๆได้ตระหนักถึงความสำคัญในการแข่งขันทางการค้าสินค้าในต่างประเทศที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นดังนั้นสินค้าทุกชนิดจึงต้องได้รับมาตรฐานของสินค้าที่จะนำเข้าหรือส่งออกของสินค้านั้นๆ

ในช่วงนี้เป็นช่วงที่แผนพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มได้ผลคือ มีการลงทุนและการขยายตัวในทางอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ประกอบกับวิธีกำหนดเกณฑ์คุณภาพที่ใช้อยู่ไม่สามารถทำให้มีเกณฑ์สำหรับเทียบหรือเป็นมาตรฐานทันกับความต้องการ และการขยายตัวในทางอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้น ดังนั้นได้มีองค์กรที่รัฐบาลตั้งและองค์กรที่เอกชนตั้งขึ้น เพื่อตรวจสอบโรงงานอุสาหกรรม หรือสินค้า ที่จะผลิตออกมาสู่ประชาชน โดยมีหน่วยงาน ดั้งนี้ คือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรม Thailand Quality Award – TQA เป็นต้น หน่วยงานดังล่าวดังก็จะวัดมาตรฐานของโรงงานและสินค้า เพื่อที่จะให้สินค้าของโรงงานนั้นได้รับมาตรฐาน เพื่อที่จะทำให้ประชาชนมั่นใจในการบริโภคสิค้านั้นได้

ดังนั้นโรงงานอุสาหกรรมและสินค้าของโรงงานอุสาหกรรมที่ได้รับมาตรฐานจากหน่วยของงานรัฐบาล หรือเอกชน จะทำให้ผู้ผลิตได้รับประโยชน์ คือ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของสินค้า ลดรายจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน ช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ ทำให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง ส่วนประโยชน์ต่อผู้บริโภค คือ ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และสร้างความปลอดภัยในการนำไปใช้ ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรมคุ้มค่ากับการใช้งาน เป็นต้น ประโยชน์ส่วนรวม ก็จะช่วยเป็นสื่อกลางเป็นบรรทัดฐานทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความ เข้าใจที่ตรงกันก่อให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขายประหยัดการใช้ทรัพยากรของชาติ ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และยังสร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยด้วย
คุณภาพของซอฟต์แวร์
คุณภาพของซอฟต์แวร์ คือ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่องค์กรส่งมอบแก่ลูกค้า มีคุณลักษณะสอดคล้องกับข้อกำหนดและสามารถใช้งานได้ตรงตามที่ตกลงกัน การที่ซอฟต์แวร์มีคุณลักษณะถูกต้อง เชื่อถือได้ ใช้งานง่าย บำรุงรักษาง่าย เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ประยุกต์กับงานอื่นๆได้

คุณภาพของ Software ตามหลักเกณฑ์
1. คุณภาพด้านการใช้งาน หรือ Usability หลักการง่ายๆในการพัฒนา Software ให้มีคุณภาพด้านการใช้งานที่ดีคือ ต้องทำให้ Software ที่สร้างขึ้นมานั้นง่ายที่จะเรียนรู้เพื่อใช้งานสำหรับมือใหม่ มีส่วนอำนวยความสะดวกให้สำหรับมือเก่าหรือผู้ใช้ที่เชียวชาญแล้ว เช่น พวก Shortcut ต่างๆ นอกจากนั้นต้องสามารถสามารถดักจับ Error ได้หากผู้ใช้ทำผิดพลาด และรับมือกับ Error ได้ดี คือ ข้อความ Error ต้องชัดเจนเป็นภาษามนุษย์ที่ผู้ใช้อ่านเข้าใจและสามารถนำข้อความ Error มาบอกเราได้

2. คุณภาพด้านประสิทธิภาพ หรือ Efficiency ได้แก่ ไม่กิน CPU-time, ใช้ Memory น้อย, ใช้พื้นที่ใน Disk น้อย, ใช้ Network Bandwidth น้อย, สรุปคือใช้ Resource ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งข้อนี้เด็กจบใหม่มักจะขาดหายไปหรือลืมนึกไปเสมอๆ เวลาเราคิด Argorithm ขึ้นมาอย่าพึ่งรีบใช้ ให้ลองคิดดูดีๆเสียก่อนว่ายังมี Argorithm อื่นอีกหรือเปล่าที่สามารถทำงานได้เร็วกว่านี้ ใช้ Memory น้อยกว่านี้ ซึ่งตามปกติแล้วการแก้ไขปัญหาใดๆ มันจะมีวิธีแก้ไขมากกว่า 1 วิธีเสมอ ไม่จำเป็นต้องคิดจนครบ แต่ลองคิดให้ได้มากกว่า 1 วิธี ก็จะทำให้เรามีทางเลือกมากขึ้น

3. คุณภาพด้านความทนทาน หรือ Reliability คือ ต้องมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ไม่เกิด Error บ่อยๆ แต่ถ้าเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ต้องแก้ไขได้โดยง่าย และใช้เวลาแก้ไขน้อยที่สุด ข้อนี้สำคัญมากถ้าเป็น Software ที่เราพัฒนาให้ลูกค้าที่ต้องนำระบบเราไป Operate งานเอง เราต้องมีวิธีแก้ไขข้อผิดพลาดได้ง่ายที่สุด ไม่ใช่ว่าต้องเข้าไปแก้ไขข้อมูลใน Database เสียก่อนจากนั้นทำการ... และ... จึงจะหาย

4. คุณภาพด้านการบำรุงรักษา หรือ Maintainability คือ ระบบควรจะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ และมีความยืดหยุนที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข เช่น สามารถแก้ไข Configuration ของระบบได้โดยง่ายไม่ต้องทำการ Restart ระบบก่อน นอกจากนั้นควรจะมี Monitoring Tool ที่สามารถแสดงสถานะของระบบและสภาพแวดล้อมของระบบว่าอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้มาก

5. คุณภาพด้านการนำมาใช้ใหม่ หรือ Resusability คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นมาควรที่จะสามารถนำไปติดตั้งที่ระบบอื่นหรือสภาพแวดล้อมอื่นได้ง่าย โดยแก้ไขเล็กน้อยหรือไม่ต้องแก้ไขเลย เช่น Web Application ที่พัฒนาขึ้นควรที่จะสามารถติดตั้งได้ทั้งบน Tomcat หรือ WebLogic ก็ได้

Capability Maturity Model (CMM)
Capability Maturity Model (CMM) คือ การปรับปรุงขบวนการผลิต Software โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับ Quality control ในอุตสาหกรรม เป้าหมายของ CMM คือเพิ่มคุณภาพของ Software  CMM พัฒนาโดย Software Engineering institue (SEI) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อเป็นมาตรฐานในการวัดขบวน เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อวัดความเชื่อมั่นและคุณภาพของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software House) โดยมาตรฐาน CMM ได้รวมเอาข้อดีของมาตรฐาน TQM (Total Quality Management) มาปรับใช้กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) โดยเฉพาะ จึงเป็นโมเดลที่ใช้วัดความเชื่อมั่น และคุณภาพของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์กันในปัจจุบัน การผลิต Software โดยมีการแบ่งการผลิต Software ออกเป็น 5 ประเภทหรือขั้นตอน คือ
1.             Initial การผลิต Software ในประเภทนี้ จะไม่มีการกำหนดขั้นตอนในการผลิต คุณภาพของ Software นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคลากรในองค์กรนั้น
2.             Repeatable การผลิต Software มีการวางแผนโครงการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายและกำหนดหน้าที่ในการผลิต มีการควบคุมขั้นตอนการผลิตโดยนำโครงการที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้านี้มาเป็นต้นแบบ เป็นระดับที่มีการกำหนดกระบวนการบริหารจัดการขั้นพื้นฐาน 7 กลุ่ม (Process Area) ได้แก่
1)                        Requirements Management
2)                        Project Planning
3)                        Project Monitoring and Control
4)                        Supplier Agreement Management
5)                        Measurement and Analysis
6)                        Process and Product Quality Assurance
7)                        Configuration Management
3.             Define ขั้นตอนการผลิตทั้งในส่วนการจัดการและในเชิงวิศวกรรมถูกจัดวางในรูปของเอกสาร เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในองค์กรนั้นๆเป็นระดับที่มีการกำหนดกระบวนการทั่วทั้งองค์กรประกอบด้วยกระบวนการ 11 กลุ่ม (Process Area) ได้แก่
1)                        Requirements Development
2)                        Technical Solution
3)                        Product Integration
4)                        Verification
5)                        Validation
6)                        Risk Management
7)                        Integrated Project Management
8)                        Organizational Process Definition
9)                        Organizational Process Focus
10)                 Organizational Training
11)                 Decision Analysis and Resolution
4.             Managed มีการตรวจสอบและปรับปรุงขั้นตอนในการผลิต Software โดยวัดผลลัพธ์ที่ได้ของSottware นั้นๆ เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีของ Software และเป็นระดับที่นำหลักการจัดการเชิงปริมาณเข้ามาช่วยในจัดการเพื่อทำให้ทราบธรรมชาติของกระบวนการ และ สามารถตรวจหาความผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากความผิดธรรมชาติ (Special Cause) ของกระบวนการ จึงทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ในระดับนี้จะประกอบด้วยกระบวนการ 2 กลุ่ม (Process Area) ได้แก่
1)                        Organizational Process Performance
2)                        Quantitative Project Management

5.             Optimizing การตรวจสอบและปรับปรุงการผลิต Software เกิดขึ้นในการผลิต โดยวัดผลลัพธ์จากขบวนการผลิต Sofeware นั้น การตรวจสอบและปรับปรุงจะเกิดขึ้นตลอดเวลาและทุกขั้นตอนในการผลิต และเป็นระดับที่การวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้า (Root Cause) เพื่อแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ ซึ่งจะตามมาด้วยการปรับปรุงกระบวนการหรือการนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในระดับนี้จะประกอบด้วยกระบวนการ 2 กลุ่ม (Process Area) ได้แก่
1)                        Causal Analysis and Resolution
2)                        Organizational Performance Management

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีมาตรฐาน Capability Maturity Model (CMM)
ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำเนินธุรกิจเกือบทุกประเภท เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สิ่งที่ผู้ใช้ทั่วไปต้องคำนึงถึงตามมาคือ จะใช้เทคโนโลยีนั้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไรซึ่งแน่นอนว่าต้องอาศัยซอฟต์แวร์เป็นตัวขับเคลื่อน ฉะนั้นการนำซอฟต์แวร์ใดๆมาใช้ในธุรกิจ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดหาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรขนาดใหญ่ ที่จะให้ความไว้วางใจเฉพาะผู้ที่ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานซอฟต์แวร์มาแล้ว
มาตรฐาน CMM เป็นมาตรฐานตัวหนึ่งที่สามารถรับรองคุณภาพของบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ จึงไม่ควรมองข้ามที่จะจัดทำองค์กรของตนให้เข้าสู่มาตรฐานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ CMM ไม่ได้ครอบคลุมถึงประเด็นทั้งหมดทางกระบวนการ software และปรับปรุงคุณภาพประเด็นที่เกี่ยวข้องบางส่วน/โดยอ้อม คือ
                   เครื่องมือ วิธีการ และเทคโนโลยี
                   ทีมงานและกระบวนการทำงาน
                   วิศวกรรมระบบและการตลาด
                   ทรัพยากรมนุษย์
                   พฤติกรรมขององค์กร
Capability Maturity Model (CMM) มีประโยชน์อย่างไร
                   การทำงานเป็นระบบมากขึ้น ทุกขั้นตอนต้องการจดบันทึกรายละเอียดระหว่างการทำงานไว้เป็นเอกสาร หรือมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้โดยง่าย เช่น การบันทึกการเจรจากับลูกค้า
                   เมื่อการทำงานเป็นระบบโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการทำงานก็มากขึ้น เป็นการสร้างชื่อเสียงให้หน่วยงานได้ และสร้างโอกาสในการรับงานจากลูกค้าเพิ่มขึ้นด้วย
                   การทำงานของหน่วยงานจะมีวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นแบบเดียวกัน มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ที่สามารถยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ผู้บริหารมองเห็นสภาพการปฏิบัติงานของโครงการ ที่เป็นนามธรรมได้อย่างชัดเจน สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเตรียมตัวแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดในอนาคตได้เป็นอย่างดีด้วย
                   ประโยชน์ต่อประเทศชาติ หากไทยสามารถพัฒนาบริษัทซอฟต์แวร์ไทย ให้มีวุฒิภาวะความสามารถมากขึ้น จะสามารถรับงานจากต่างประเทศ และทำรายได้เข้าประเทศได้อีกมาก

International Organization for Standardization (ISO)
          International Organization for Standardization (ISO) คือ ISO ก็คือชื่อย่อขององค์กร International Organization for Standardization เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม ISO ตั้งอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อพูดคำว่า ไอเอสโอ ออกมาแล้ว คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ แต่อาจจะพอเห็น หรือได้ยินมาบ้าง ทางโทรทัศน์  ตามป้ายโฆษณาหรือตาม Web Site ต่างๆ ก็ดี คงจะนึกไปถึงอะไรที่มันเกี่ยวกับสินค้า, เกี่ยวกับโรงงาน, เกี่ยวกับการผลิต ซึ่งความจริงมันก็ใช่ แต่ก็ไม่ถูกต้องไปทั้งหมดเสียทีเดียว ISO จะมีสมาชิกจากหลายๆ ประเทศ และสมาชิกก็แบ่งเป็นระดับๆ แตกต่างกันไปอีก ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และมาตรฐานต่างๆ ที่ออกมาก็เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard)              

ISO จะมีสมาชิกจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก และสมาชิกก็แบ่งเป็นระดับๆ แตกต่างกันไปอีก ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และมาตรฐานต่างๆ ที่ออกมาก็เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard)  นอจากนี้มาตรฐาน ISO ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรชนิดใดขนาดใหญ่ หรือ เล็ก ผลิตสินค้าอะไร หรือ ให้บริการอะไร ตัวอย่างเช่น มาตรฐาน ISO-10646-1 เป็นมาตรฐานที่โปรแกรมในปัจจุบันได้เริ่มออกแบบให้สามารถใช้ได้หลายภาษา (multilingual) โดยใช้ มาตรฐานของตัวอักษร ของ ISO/IEC 10646 (Universal Multi-octet Coded Character Set - UCS) ซึ่งเป็นระบบสำหรับเก็บข้อมูลตัวอักษรสากลในระบบ 8 Bit (หรือ byte) ซึ่งอาจอยู่ในรูป 8 bit หลาย ๆ ตัวต่อกัน และรู้จักกันดีในชื่อ Unicode UCS หรือ UTF-8

หมายเลข International Organization for Standardization (ISO)
เลข ISO ที่เราเห็นกันคุ้นตาก็มี ISO 9002, ISO 14000 เป็นต้น หลายคนอาจสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร ตัวเลขดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อการแบ่งแนวทางและวิธีการในการบริหารองค์กร ดังนี้
                   ISO 9000 คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร
                   ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
                   ISO 9002 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
                   ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
                   ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำ ในการจัดการในระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีการกำหนดย่อย ในแต่ละประเภทธุรกิจ
                   ISO 14000 เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องISO 18000 มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประโยชน์ของ มาตรฐาน International Organization for Standardization (ISO)
การปฏิวัติระบบการทำงานให้มีคุณภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และคุณภาพสังคม ให้ก้าวไกลควบคู่กัน ในแง่ขององค์กรและพนักงาน ก็ทำให้การบริหารจัดการ เป็นไปอย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างภาพพจน์ที่ดี พนักงานมีส่วนร่วม และมีจิตสำนึก ในเรื่องคุณภาพมากขึ้น ภายใต้การปฏิบัติงาน ที่มีระบบและขอบเขตที่ชัดเจน ผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์ ในแง่ความมั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซ้ำอีก
     1. องค์กร/บริษัท
- การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบ และมีประสิทธิภาพ
- ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ
- ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
     2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท
- มีการทำงานเป็นระบบ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
- มีวินัยในการทำงาน - พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถ
   พัฒนาตนเองตลอดจน   เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
     3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
- มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ
- สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ
- ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน 

Thailand Quality Award (TQA)
Thailand Quality Award (TQA) หมายถึง TQA ซึ่งย่อมาจาก Thailand Quality Award ถือเป็นรางวัลระดับมาตรฐานโลก เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิค และกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ กว่า 70 ประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ใช้

ความเป็นมาของ Thailand Quality Award (TQA)
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award - TQA) เริ่มต้นตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลคุณภาพแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย และด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุรางวัลคุณภาพแห่งชาติไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์  เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการขยายการดำเนินงานไปอย่างกว้างขวางย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้
          รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น

TQA จึงถือว่ามีคุณภาพ ระดับโลก” (World Class) เพราะใช้ "เกณฑ์การวัด" ตามมาตรฐานสากลทั้ง 7 คือ
1.การนำองค์กร
2.การวางแผนเชิงกลยุทธ์
3.การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด
4.การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
5.การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
6.การจัดกระบวนการ
7.ผลลัพธ์ทางธุรกิจ

สัญลักษณ์  :         ช่อฟ้าสีทองอร่ามลอยเด่นในห้วงจักรวาล เคียงข้างด้วยดาวฤกษ์ดวงใหญ่ส่องประกายระยิบระยับ อยู่ในกรอบรูปช่องหน้าต่างทรงไทย

ความหมาย  :      รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน เพราะเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศในการบริหารจัดการทุกด้าน ตลอดจนผลประกอบการที่ดี เทียบเท่าองค์กรที่ยอมรับกันว่ามีคุณภาพสูงสุดในโลก

องค์ประกอบ  :    ดาวฤกษ์  สื่อให้เห็นถึงจุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ ความรุ่งโรจน์ และการเป็นที่ยอมรับทั่วไป อันเป็นสิ่งพึงปรารถนาของทุกองค์กร
ช่อฟ้าสีทอง  สื่อให้เห็นถึงความเป็นเลิศและความมุ่งมั่นที่จะพัฒนามาตรฐานคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
ช่องหน้าต่างทรงไทย  สื่อถึงวิสัยทัศน์ การมองการณ์ไกลสู่ความสำเร็จ


เจตนารมณ์ ของ (Thailand Quality Award - TQA)
      เจตนารมณ์ (Thailand Quality Award - TQA) “รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นรางวัลอันทรงเกียรติซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นเลิศในการบริหารจัดการขององค์กรที่ทัดเทียมระดับมาตรฐานโลก
เจตนารมณ์
       1.  เพื่อสนับสนุนการนำแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติไปใช้ในการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน
       2.  เพื่อประกาศเกียรติคุณให้แก่องค์กรที่ประสบผลสำเร็จในระดับมาตรฐานโลก
       3.  เพื่อกระตุ้นให้มีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
       4.  เพื่อแสดงให้นานาชาติเห็นถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ

ความสำคัญ Thailand Quality Award (TQA)
ความสำคัญของกระบวนการพัฒนาการบริหารกิจการ ตามเกณฑ์ TQA ก็คือการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพราะการขับเคลื่อนองค์กรตามเกณฑ์ทั้ง 7 ข้างต้นมีค่านิยมหลักและแนวคิด ส่งผลให้เกิดคุณค่าที่ดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในด้านต่างๆ มีมุมมองในการบริหารจัดการ คือ
1.การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
2.ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า
3.การเรียนรู้ขององค์กร และของแต่ละบุคคล
4.การให้ความสำคัญแก่พนักงานและคู่ค้า
5.ความคล่องตัวในด้่านต่างๆ รวมไปถึงการเงินและเทคโนโลยี
6.การมุ่งเน้นอนาคต
7.การจัดการเพื่อนวัตกรรม
8.การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
9.ความรับผิดชอบต่อสังคม
10.การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า
11.มุมมองในเชิงระบบ
ในปัจจุบันมีค่านิยมหลักและแนวคิดของเกณฑ์ TQA ให้คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งสภาวะโลกยุคใหม่หมายรวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย แต่ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม หรือการจัดทำ CSR จะได้รับความสำคัญมากขึ้น มีความชัดเจนมากขึ้น นายสมภพ อมาตยกุล ประธานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เคยให้ความเห็นว่าการพิจารณาตรวจประเมินก็น่าจะอิงหลักการของ “ISO 26000” ซึ่งว่าด้วยเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่นเดียวกับที่ ดร.โดนัลด์ ซี.ฟิชเชอร์ ผู้อำนวยการ Mid-South Quality and Productivity Center จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยได้รับเชิญจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทยมาเป็นวิทยากรในการสัมมนา

ดร.ฟิชเชอร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและการตรวจประเมินตามเกณฑ์การรับรองรางวัลคุณภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้เสนอกระบวนการ Baldrige Green ซึ่งเน้นสร้างความสมดุลใน "ผลสุดท้ายของการทำธุรกิจ" ให้มีความสมดุล 3 ด้าน (Triple Bottom Line) คือ
       1.ด้านเศรษฐกิจ คือกำไร หรือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
       2.ด้านสิ่งแวดล้อม คือให้เกิดผลดีต่อทุนทางธรรมชาติ โดยมุ่งปกป้องโลกของเราใบนี้
       3.ด้านสังคม คือการคำนึงถึงทุนมนุษย์ทั้งในองค์กร ลูกค้า และคนในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี

 แนวคิด Baldrige Green ดังกล่าวซึ่งเป็นหลักการ CSR มีเป้าหมายไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร(Corporate Sustainability)มีผู้เข้า่ร่วมรับฟังการบรรยายของ ศ.ดร.อัญญา ขันธวิทย์ ซึ่งเป็นดาวเด่นทางวิชาการของคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับเป็น นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติซึ่งนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “ACSR-Implementation Model for Value Creation” ก็ได้ยืนยัน องค์ความรู้เพิ่มขึ้นตัวแบบจำลองที่เสนอให้ธุรกิจคำนึงถึง 3 ประการ คือ
1.Performance คือ การบริหารเพื่อสร้างมูลค่าสูงสุด ก็ต้อง "มีความเก่ง"
2.Conformance คือ กำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance หรือ CG) "ซื่อสัตย์"
3.Responsibility คือ มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) "เชื่อถือได้"

ศ.ดร.อัญญา ย้ำว่าต้องมีการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างมูลค่าสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยไม่เบียดเบียนใคร รวมทั้งไม่ทำลายสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจการก็จะเจริญอย่างยั่งยืน“CSR จึงเป็นกิจกรรมการบริหารจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์ ไม่ว่าการทำแผนจัดซื้อ การผลิตและการตลาด หลัก CSR ต้องแทรกอยู่ในทุกกระบวนการแสดงว่าต้องมีทั้งความเก่งและความดี หรือมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรม เพื่อสร้างมูลค่าที่สูงขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกด้านการให้คะแนนคำตอบในแต่ละหัวข้อ และการให้ข้อมูลป้อนกลับให้แก่ผู้สมัครรับรางวัล จะขึ้นอยู่กับการประเมินใน 2 มิติ คือ
       (1) กระบวนการ
       (2) ผลลัพธ์
       ผู้ที่นำเกณฑ์ไปใช้จะต้องให้ข้อมูลที่สัมพันธ์กับมิติเหล่านี้ ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้จากแนวทางการให้คะแนน (Scoring Guidelines) ซึ่งปัจจัยของแต่ละมิติมีดังนี้

กระบวนการ
       “กระบวนการหมายถึง วิธีการที่องค์กรใช้และปรับปรุง เพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆ ของหัวข้อในหมวด 1-6 ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ประเมินกระบวนการ ได้แก่ แนวทาง (Approach–A) การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (Deployment–D) การเรียนรู้ (Learning–L) และการบูรณาการ (Integration–I)“แนวทาง” (Approach–A) หมายถึง
       • วิธีการที่ใช้เพื่อให้บรรลุผลตามกระบวนการ
       • ความเหมาะสมของวิธีการที่ใช้ตอบข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ ของเกณฑ์ และสภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กร
       • ความมีประสิทธิผลของการใช้วิธีการต่างๆ ขององค์กร
       • ระดับของการที่แนวทางนั้นนำไปใช้ซ้ำได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้ (ซึ่งหมายถึง การดำเนินการอย่างเป็นระบบ)

       “การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ” (Deployment–D) หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึงของ
       • การใช้แนวทางเพื่อตอบสนองข้อกำหนดของหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องและสำคัญต่อองค์กร
       • การใช้แนวทางอย่างคงเส้นคงวา
        • การนำแนวทางไปใช้ (สู่การปฏิบัติ) ในทุกหน่วยงานที่เหมาะสม

       “การเรียนรู้” (Learning-L) หมายถึง
       • การปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรการประเมินและการปรับปรุง
       • การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทาง ผ่านการสร้างนวัตกรรม
       • การแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรมกับหน่วยงานและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร

       “การบูรณาการ” (Integration-I) หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึง ของ     
       • แนวทางที่ใช้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กรตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร และข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ ในเกณฑ์ (หมวด 1 ถึง หมวด 6)
       • การใช้ตัววัด สารสนเทศ และระบบการปรับปรุง ที่ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งระหว่างกระบวนการและระหว่างหน่วยงานทั่วทั้งองค์กร
       • แผนงาน กระบวนการ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ การเรียนรู้ และการปฏิบัติการ มีความสอดคล้องกลมกลืนกันในทุกกระบวนการและหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ระดับองค์กร

ผลลัพธ์
     “ผลลัพธ์หมายถึง ผลผลิตและผลลัพธ์ขององค์กรที่บรรลุผลตามข้อกำหนดในหัวข้อที่ 7.1 ถึง 7.5 (หมวด 7) ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ ได้แก่ ระดับ (Level-L) แนวโน้ม (Trend-T) การเปรียบเทียบ (Comparison-C) และการบูรณาการ (Integration-I) (LeTCI) โดยมีความหมายดังต่อไปนี้

       “ระดับ” (Level – Le) หมายถึง
       • ผลการดำเนินการในปัจจุบัน

       “แนวโน้ม” (Trend – T) หมายถึง
       • อัตราของการปรับปรุงผลการดำเนินการ หรือการรักษาไว้ของผลการดำเนินการที่ดี (ความลาดชันของแนวโน้มของข้อมูล)
       • ความครอบคลุมของผลการดำเนินการขององค์กรในเรื่องต่างๆ (ความครอบคลุมและทั่วถึงของการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ) ของผลลัพธ์
 
       “การเปรียบเทียบ” (Comparison – C) หมายถึง
       • ผลการดำเนินการขององค์กรเปรียบเทียบกับสารสนเทศขององค์กรอื่นอย่างเหมาะสม เช่น คู่แข่ง หรือองค์กรที่คล้ายคลึงกัน
       • ผลการดำเนินการขององค์กรเทียบเคียงกับระดับเทียบเคียง หรือองค์กรที่เป็นผู้นำในธุรกิจหรือวงการเดียวกัน

       “การบูรณาการ” (Integration – I) หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึงของ
       • ตัววัดผลต่างๆ (มักมีการจำแนกประเภท) ที่ระบุผลการดำเนินการด้านลูกค้ารายสำคัญ ผลิตภัณฑ์ ตลาด กระบวนการ และแผนปฏิบัติการที่ระบุผลการดำเนินการที่ต้องการ ตามที่ปรากฏอยู่ในโครงร่างองค์กร และหัวข้อที่อยู่ในหมวด 1-6
       • ผลลัพธ์ รวมถึงตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้สำหรับผลการดำเนินการในอนาคต
       • ผลลัพธ์มีการสอดประสานอย่างกลมกลืนในทุกกระบวนการและหน่วยงานเพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ระดับองค์กร

การจำแนกหัวข้อและมิติการให้คะแนนหัวข้อต่างๆ จำแนกตามชนิดของสารสนเทศ และข้อมูลที่องค์กรต้องนำเสนอตามมิติการประเมินทั้ง 2 มิติดังกล่าวข้างต้น หัวข้อแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
       1. กระบวนการ
       2. ผลลัพธ์
       หัวข้อที่อยู่ในหมวด 1-6 นั้น แนวทาง (A) – การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (D) – การเรียนรู้ (L) – การบูรณาการ (I)” มีความเชื่อมโยงกัน เพื่อเน้นว่าเมื่อมีการอธิบายถึงแนวทางทุกครั้ง องค์กรต้องชี้ให้เห็นถึงการนำแนวทางนั้นๆ ไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติด้วย และคงเส้นคงวากับข้อกำหนดที่ระบุไว้ในหัวข้อนั้นๆ และองค์กรเสมอ เมื่ออธิบายถึงระดับความสมบูรณ์ของกระบวนการ ควรแสดงให้เห็นว่าวงจรการเรียนรู้ (รวมทั้งการสร้างนวัตกรรม) และการบูรณาการกับกระบวนการและหน่วยงานอื่นเกิดขึ้นได้อย่างไร ถึงแม้ว่าปัจจัย อันได้แก่ แนวทาง-การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ-การเรียนรู้-การบูรณาการ จะมีความเชื่อมโยงกันก็ตาม ข้อมูลป้อนกลับที่ส่งให้แก่ผู้สมัครรับรางวัลจะสะท้อนจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุงในปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือทุกปัจจัยก็ได้
       หัวข้อที่อยู่ในหมวด 7 กำหนดให้ต้องแสดงผลของตัววัดหรือตัวชี้วัดที่สำคัญของผลการดำเนินการขององค์กร ในรูปแบบของ ระดับ” “แนวโน้มและ การเปรียบเทียบรวมทั้ง การบูรณาการของผลลัพธ์กับข้อกำหนดที่สำคัญขององค์กร หัวข้อที่อยู่ในหมวด 7 ยังกำหนดให้รายงานผลลัพธ์การดำเนินการที่มีข้อมูลครอบคลุม ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติและการเรียนรู้ขององค์กร หากมีการแบ่งปันความรู้ในเรื่องกระบวนการปรับปรุงและมีการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวาง ควรจะแสดงผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันด้วย ดังนั้น คะแนนของผลลัพธ์แต่ละหัวข้อในหมวด 7 จะเป็นตัวเลขเชิงรวม โดยพิจารณาองค์ประกอบในปัจจัยทั้ง 4 (LeTCI) ของผลการดำเนินการ ความสำคัญในการพิจารณาคะแนน การประเมิน 2 มิติดังกล่าวข้างต้น เป็นหัวใจสำคัญในการประเมินและให้ข้อมูลป้อนกลับ ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ ความสำคัญของกระบวนการและผลลัพธ์ต่อปัจจัยสำคัญทางธุรกิจ/กิจการที่แสดงไว้ในรายงานวิธีการและผลการดำเนินงานที่ใช้สมัครรับรางวัล องค์กรควรระบุเรื่องที่เห็นว่าสำคัญที่สุดไว้ในโครงร่างองค์กรและหัวข้อต่างๆ เช่น หัวข้อ 2.1, 2.2, 3.1, 5.1, 5.2 และ 6.1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความต้องการที่สำคัญของลูกค้า สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน ความต้องการของบุคลากร วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ และแผนปฏิบัติการ
ประโยชน์ต่อองค์กร Thailand Quality Award (TQA)
องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ทุกประเภท ทุกขนาด ที่นำเกณฑ์เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ซึ่งเป็นกรอบการประเมินคุณภาพระดับมาตรฐานโลกไปเปรียบเทียบกับระบบการบริหารจัดการของตน จะได้รับประโยชน์ในทุกขั้นตอน เริ่มจากการตรวจประเมินตนเอง ผู้บริหารจะทราบถึงสภาพที่แท้จริงว่าระบบการบริหารจัดการของตนยังขาดตกบกพร่องในเรื่องใด จึงสามารถกำหนดวิธีการและเป้าหมายที่ชัดเจนในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และเมื่อองค์กรปฏิบัติตามแผนจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีความพร้อม และตัดสินใจสมัครรับรางวัล องค์กรจะได้รับการตรวจประเมินด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิผล โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้ตรวจประเมินโดยเฉพาะ และไม่ว่าองค์กรจะผ่านเกณฑ์รับรางวัลหรือไม่ก็ตาม องค์กรจะได้รับรายงานป้อนกลับซึ่งระบุจุดแข็งและจุดที่ควรปรับปรุง ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อการนำไปวางแผนปรับปรุงองค์กรให้สมบูรณ์มากขึ้นต่อไป

         องค์กรที่ได้รับรางวัลจะเป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และมีสิทธิ์ใช้ตราสัญลักษณ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งสื่อถึงความเป็นเลิศในระบบการบริหารจัดการในการโฆษณาประชาสัมพันธ์องค์กร รวมทั้งมีโอกาสส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จและเปิดโอกาสให้มีการเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์  เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน
     
สรุป
การที่ได้รับมาตรฐานต่างในโรงงานอุสาหกรรม หรือสินค้าของโรงงานอุสาหกรรมที่ได้รับมาตรฐานจากหน่วยของงานรัฐบาล หรือเอกชนนั้นจะมีประโยชน์ในเศรษฐกิจโลก และจะทำให้ผู้ผลิตได้รับประโยชน์ คือ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของสินค้า ลดรายจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน ช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ ทำให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง ส่วนประโยชน์ต่อผู้บริโภค คือ ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และสร้างความปลอดภัยในการนำไปใช้ ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรมคุ้มค่ากับการใช้งาน เป็นต้น ประโยชน์ส่วนรวม ก็จะช่วยเป็นสื่อกลางเป็นบรรทัดฐานทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความ เข้าใจที่ตรงกันก่อให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขายประหยัดการใช้ทรัพยากรของชาติ ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และยังสร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยได้มีการสร้างสินค้าที่ดีส่งออกนอกประเทศได้ และจำให้เศรษฐกิจมีความเจริญก้าวหน้าไปในทิศทางที่ดี และมีมาตรในการค้าขายด้วย และมีการสร้างสินค้าให้มีการยอมรับในสินค้าของประเทศไทยมากขึ้น ทำให้ชาวต่างชาติหันมานิยมของที่ได้รับมาตรฐานจากไทยมากยิ่งขึ้นด้วย

บรรณานุกรม

BomberMan.Blog, คุณภาพซอฟแวร์. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://bomber.exteen.com/20040729/software  (วันที่ค้นข้อมูล : 15 กรกฎาคม 2555).

Just another WordPress.com site, Capability Maturity Model (CMM). [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://visootl.wordpress.com/2010/10/08/cmmi-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/  (วันที่ค้นข้อมูล : 15 กรกฎาคม 2555).

Nakamon.tripod, CMM และประโยชน์การใช้งาน. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://nakamon.tripod.com/cmm.html  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กรกฎาคม 2555).

Pattanakit, ISOมีกี่ประเภท. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=436667&Ntype=120  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กรกฎาคม 2555).

บ้านมหาดอดคอม, เลข IOS หมายถึงอะไร. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.baanmaha.com/community/thread10567.html (วันที่ค้นข้อมูล : 17 กรกฎาคม 2555).

Oknation, TQA หมายถึง. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.oknation.net/blog/khunpatt/2012/05/06/entry-2 (วันที่ค้นข้อมูล : 17 กรกฎาคม 2555).

องค์กร Thailand Quality Award, Thailand Quality Award (TQA). [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.tqa.or.th/th  (วันที่ค้นข้อมูล : 18 กรกฎาคม 2555).

ไม่มีความคิดเห็น: